สุรกิจ มัยลาภ
สุรกิจ มัยลาภ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | คุณหญิง เลอศักดิ์ สมบัติศิริ |
ถัดไป | สมพร บุณยคุปต์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 มีนาคม พ.ศ. 2456 |
เสียชีวิต | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2532 (76 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงลเอียด มัยลาภ (บุตร-ธิดา 4 คน) |
พลเอก สุรกิจ มัยลาภ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย ในรัฐบาลของพล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็น 1 ใน 7 คนไทยที่ถูกจารึกชื่อในหอเกียรติยศวิทยาลัยเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พล.อ. สุรกิจ มัยลาภ เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2456 พล.อ. สุรกิจ มัยลาภ สมรสกับคุณหญิงละเอียด มัยลาภ มีบุตร - ธิดา ทั้งหมด 4 คน
การทำงาน
[แก้]ราชการทหาร
[แก้]พล.อ. สุรกิจ รับราชการเป็นทหารบก เคยเป็นหัวหน้าคณะเพื่อไปเตรียมรับอาวุธยุทโธปกรณ์ ในสงครามเกาหลี[1] เคยเป็นผู้บัญชาการกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก ในระหว่างปี พ.ศ. 2500 ถึงปี พ.ศ. 2504[2] และเคยเป็นเสนาธิการทหารบก
ในการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514 พล.อ. สุรกิจ มัยลาภ เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะปฏิวัติที่มีจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าคณะ[3]
งานการเมือง
[แก้]พล.อ. สุรกิจ มัยลาภ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2516 ซึ่งมีพล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2520 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[4][5]
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]พล.อ. สุรกิจ มัยลาภ ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2532 สิริรวมอายุ 76 ปี และเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 เวลา 17 นาฬิกา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[10]
- พ.ศ. 2495 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[11]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[13]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2491 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[16]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
[แก้]- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2495 - เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[17]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- สหรัฐอเมริกา :
- พ.ศ. 2492 - เหรียญบรอนซ์สตาร์[18][19]
- พ.ศ. 2511 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[20]
- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2501 - เครื่องอิสริยาภรณ์ยุนฮุย ชั้นที่ 3 (พิเศษ)[21]
- พ.ศ. 2512 - เครื่องอิสริยาภรณ์เมฆและธวัช ชั้นที่ 2
- ลาว :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นทุติยาภรณ์[22]
- เวียดนามใต้ :
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2512 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ชั้นที่ 1[23]
- พ.ศ. 2515 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งการทูต ชั้นที่ 1
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2515 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปัง กวน เนการา ชั้นที่ 2[24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.mettadham.ca/thaisoldierinkoreawar.htm
- ↑ "อดีตผู้บังคับบัญชา กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-20. สืบค้นเมื่อ 2018-07-20.
- ↑ ชาวไทย, ปีที่ 22 ฉบับที่ 6566 (วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2514), หน้า 1.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 40[ลิงก์เสีย]
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๔๕๒๔)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพเศษ หน้า ๑๔, ๒๓ ธันวรคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๒๖๗๓, ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๔, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๕, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๕ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๐๒, ๒๕ ธันวาคม ๒๔๙๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๗๓๒, ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 51 ตอนที่ 69 หน้า 2571, 19 สิงหาคม 2495
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชาทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 43 ตอนที่ 69 หน้า 2036, 8 กรกฎาคม 2495
- ↑ https://www.kunmaebook.com/product/9975/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%9E-%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A0-%E0%B8%A1-%E0%B8%9B-%E0%B8%8A-%E0%B8%A1-%E0%B8%A7-%E0%B8%A1-%E0%B8%97-%E0%B8%88-%E0%B8%A7
- ↑ AGO 1968-74 — HQDA GENERAL ORDER: MULTIPLE TITLES BY PARAGRAPHS
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 75 เล่มที่ 62 หน้า 2250, 12 สิงหาคม 2501
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 66 ฉบับพิเศษ หน้า 22, 14 กรกฏาคม 2510
- ↑ http://theme.archives.go.kr/viewer/common/archWebViewer.do?bsid=200200047212&dsid=000000000001&gubun=search
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1972.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2456
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2533
- ทหารบกชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- เหรียญสหประชาชาติ